เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เตรียมตัวให้พร้อม ….. ก่อนเข้าห้องผ่าตัด (ตอนที่ 1)


แพทย์หญิงนวรัตน์ คงศักดิ์ตระกูล (วิสัญญีแพทย์) รศ.บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล (เรียบเรียง) ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 101,980 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 07/08/2554
อ่านล่าสุด 2 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ใครจะหลีกลี้จากโรคภัยไข้เจ็บไปได้ล่ะ บางคนเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่บางคนเป็นหนัก และสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเองก็คือ “การผ่าตัด” แล้วท่านจะทำอย่างไรเมื่อแพทย์บอกว่าต้องทำผ่าตัดตัวท่านหรือคนที่ท่านรัก
ก่อนอื่นต้องคงต้องตั้งสติให้ดีเสียก่อน ถามแพทย์ให้แน่ชัดว่าโรคที่เป็นคืออะไร จำเป็นต้องทำผ่าตัดจริงหรือ รักษาวิธีอื่นได้หรือไม่เช่นรักษาด้วยยาหรือทำกายภาพบำบัด แต่เมื่อรู้แน่แล้วว่าต้องทำผ่าตัดสถานเดียวก็ต้องทำใจแล้วล่ะ
หลังจากนั้นลองถามให้ละเอียดต่อไปซิว่าการทำผ่าตัดนั้นเป็นผ่าตัดชนิดใด เป็นการผ่าตัดใหญ่ หรือผ่าตัดเล็กๆน้อยๆ แต่ท่านก็เบาใจได้ว่าไม่ว่าจะทำผ่าตัดแบบไหนก็ตามโดยหลักการแล้วต้องทำโดยไม่ให้มีความเจ็บปวดในขณะผ่าตัด
การทำให้ไม่มีความเจ็บปวดขณะผ่าตัดนั้นเรียกกันว่า “การให้ยาระงับความรู้สึก” ส่วนวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ

  • ชนิดของการผ่าตัด
  • โรคของผู้ป่วย
  • การเลือกของผู้ป่วย
  • การเลือกของแพทย์

แต่จะให้ยาระงับความรู้สึกวิธีใดก็ตามต้องมีหลักการอย่างเดียวกันคือ

  • ไม่มีความเจ็บปวดขณะทำผ่าตัด
  • แพทย์สามารถทำผ่าตัดได้สะดวก
  • เป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยกับผู้ป่วยที่ดีที่สุด
  • เป็นวิธีที่แพทย์มีความชำนาญ
  • เป็นวิธีที่ผู้ป่วยยินยอม

การให้ยาระงับความรู้สึกแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ

  1. การใช้ยาชาเฉพาะที่ (Topical anesthesia) เป็นการใช้ยาชา ทา สเปรย์ หรืออม ใช้กับการทำหัตถการที่เจ็บไม่รุนแรง เช่นการทำเลเซอร์ผิวหนัง ใช้ยาชาทาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง การใช้ยาชาใส่ในท่อปัสสาวะเพื่อส่องกล้องตรวจทางเดินปัสสาวะ การอมยาชาทำให้ชาในปากและคอ ร่วมกับการสเปรย์ยาชาในคอในปากเพื่อส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร) และการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ (หลอดลม)
  2. การฉีดยาชาเฉพาะที่ คือการฉีดยาชาจำนวนจำกัดตรงตำแหน่งที่ทำผ่าตัดหรือโดยรอบตำแหน่งที่ทำผ่าตัด การทำวิธีนี้จะใช้กับการทำผ่าตัดเล็กๆ ตื้นๆ เช่น ผ่าตัดติ่ง เนื้องอกเล็กๆ ที่บริเวณผิวหนัง ก้อนไขมันตื้นๆ ตลอดจนการเย็บบาดแผลทีไม่รุนแรง ไม่ลึก เช่น เนื้องอกเล็กๆ ตื้นๆ ที่เต้านม ก้อนถุงน้ำหรือซีสต์ (cyst) ใต้ผิวหนัง บาดแผลถูกของมีคม หัวแตก ที่ไม่ใหญ่ ไม่ลึก เป็นต้น
  3. การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน
    • บล็อคเส้นประสาท (Regional block /nerve block) โดยใช้ยาชาฉีดตรงตำแหน่งที่มีเส้นประสาทที่เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เลือกเฉพาะส่วนหรือข้างที่จะทำผ่าตัด เช่น บล็อกกลุ่มเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน (Brachial nerve block) เป็นการใช้ยาชาฉีดตรงบริเวณคอ หรือเหนือกระดูกไหปลาร้าตรงตำแหน่งที่กลุ่มเส้นประสาทอยู่ทำให้ชาแขนข้างนั้นทั้งแขน สามารถทำผ่าตัดได้ เช่นทำผ่าตัดกระดูกแขนหัก ทำผ่าตัดมือ ต่อนิ้วมือ ต่อเส้นประสาทได้
    • บล็อกหลัง เป็นการฉีดยาชาตรงช่องระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลังเข้าไปในช่องว่างระหว่างชั้นคลุมเส้นประสาท (Epidural block) หรือฉีดยาชาเช้าไปในน้ำไขสันหลัง(spinal block) จะทำให้ร่างกายส่วนล่างชาสามารถทำผ่าตัดได้ ได้แก่ทำผ่าตัดช่องท้อง เช่นผ่าตัดคลอด ผ่าตัดรังไข่หรือมดลูก ผ่าตัดต่อมลูกหมาก ผ่าตัดทวารหนักเช่นริดสีดวงทวาร ฝีคัณฑสูตร ผ่าตัดไส้เลื่อน ผ่าตัดกระดูกสะโพก กระดูกขา ข้อเข่า ถึงเท้า เป็นต้น
    • นอกจากนี้ยังสามารถบล็อกเส้นประสาทอื่นได้อีกหลายแห่ง เช่น เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขา ทำให้ชาเฉพาะส่วนขาข้างที่ต้องการทำผ่าตัด กระดูกต้นขา ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า เป็นต้น
  4. การวางยาสลบ เป็นการให้ยาระงับความรู้สึกชนิดที่ทำให้ไม่รู้สึกตัว ไม่เจ็บไม่ปวด ใช้กับการทำผ่าตัดทุกชนิด และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้วิธีข้างต้นได้ หรือเป็นวิธีที่ผู้ป่วยไม่ต้องการรู้สึกตัวขณะทำผ่าตัด หรือกลัวการฉีดยาบล็อคดังกล่าว
  5. การให้ยาระงับความรู้สึกผสมผสานกันทำการบล็อกตำแหน่งต่างๆ ตามชนิดการผ่าตัด ผสมกับการวางยาสลบทำการบล็อกตำแหน่งต่างๆ ตามชนิดการผ่าตัด ผสมกับการให้ยาให้หลับแต่ไม่สลบ ซึ่งวิธีนี้จะดีกับผู้ป่วย บล็อก แต่มีความเครียด กังวล กลัว ก็จะได้รับยานอนหลับระหว่างการทำผ่าตัด ทำให้สบายขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 18 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้